วัคซีนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ทำไมคุณผู้หญิงที่ต้องระวัง

การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมีความสำคัญมากขึ้น วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ได้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการปกป้องผู้หญิงจากโรคร้ายที่สามารถป้องกันได้ล่วงหน้า หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ แต่ยังไม่เข้าใจว่าแท้จริงแล้ว วัคซีนมะเร็งปากมดลูก คือ อะไร

วัคซีนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก คือวัคซีนที่ใช้สำหรับ ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ และเป็นสาเหตุหลักของ มะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิง ในความเป็นจริง ไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุดคือสายพันธุ์ HPV 16 และ 18 โดยคิดเป็นกว่า 70% ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกทั่วโลก ซึ่งวัคซีนมะเร็งปากมดลูก คือ วัคซีนที่ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่เป็นอันตราย ลดโอกาสในการเกิดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัคซีน HPV มีกี่ชนิด

  1. Cervarix

ป้องกัน HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เหมาะสำหรับป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยเฉพาะ

  1. Gardasil

ป้องกันสายพันธุ์ 6 11 16 และ 18 เพิ่มการป้องกันหูดหงอนไก่ด้วย

  1. Gardasil 9

ป้องกันได้ถึง 9 สายพันธุ์ รวมถึง 16 18 31 33 45 52 58 ถือเป็นวัคซีนที่ครอบคลุมและป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุดในปัจจุบัน

วัคซีน มะเร็งปากมดลูก ต้องฉีดกี่เข็ม

ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ฉีดดังนี้

  • อายุ 9–14 ปี หรือ ผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรฉีด ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 – 12 เดือน
  • อายุ 15 ปีขึ้นไป หรือ ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรฉีด 3 เข็ม และฉีดดังนี้ เข็มที่ 1: วันเริ่มต้น เข็มที่ 2 ตั้งแต่ 1–2 เดือนหลังเข็มแรก และเข็มที่ 3 ตั้งแต่ 6 เดือนหลังเข็มแรก

ทำไมวัคซีนมะเร็งปากมดลูกจึงสำคัญ

  • เพราะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่า 90% เพราะผู้หญิงที่ได้รับวัคซีนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะหากฉีดตั้งแต่อายุยังน้อย และยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์
  • ช่วยลดอัตราการติดเชื้อ HPV แม้จะไม่สามารถป้องกันเชื้อได้ทุกสายพันธุ์ แต่การได้รับวัคซีนช่วยลดการติดเชื้อ HPV ที่เสี่ยงสูงได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะการรักษามะเร็งปากมดลูกมีค่าใช้จ่ายสูง และอาจกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก การป้องกันตั้งแต่ต้นจึงคุ้มค่าทั้งในแง่เศรษฐกิจและสุขภาพจิต

ความเข้าที่มักมีเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

  • เมื่อฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกแล้วจะไม่ตรวจคัดกรองอีก ไม่จริงเลย เพราะแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว แต่ยังควรเข้ารับการ ตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear) หรือ HPV DNA test อย่างสม่ำเสมอ เพราะวัคซีนไม่ครอบคลุมเชื้อ HPV ทุกสายพันธุ์
  • ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกตอนโตแล้วจะไม่เห็นผล ไม่จริงอีกเช่นกัน เพราะถึงแม้จะฉีดในวัยผู้ใหญ่ ก็ยังสามารถลดความเสี่ยงได้ แม้ประสิทธิภาพอาจไม่เท่ากับการฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • เมื่อฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกแล้วจะทำให้มีบุตรยาก เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดที่ชี้ว่าวัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์

สรุป

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก คือ วัคซีนที่ช่วยให้คุณผู้หญิงลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และยังช่วยสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย และคุณผู้หญิงควรฉีดทุกวัยตั้งแต่อายุ 9 ไปขึ้นไป ควรฉีดให้ตรงกับช่วงอายุและจำนวนเข็มที่เหมาะสมเพื่อได้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากที่สุด

 

รักษาข้อเข่าเสื่อมอย่างถูกวิธี ดูแลตัวเองให้ห่างไกลการผ่าตัด

ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) คือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเกิดการสึกหรอ บางลง หรือถูกทำลาย ทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างกระดูกบริเวณข้อเข่า ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม ข้อฝืด และเคลื่อนไหวลำบาก

 

ข้อเข่าเสื่อมคืออะไร?

ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) คือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเกิดการสึกหรอ บางลง หรือถูกทำลาย ทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างกระดูกบริเวณข้อเข่า ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม ข้อฝืด และเคลื่อนไหวลำบาก

อาการข้อเข่าเสื่อม

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมักมีอาการดังนี้:

  • ปวดเข่า โดยเฉพาะหลังใช้งาน เช่น เดินเยอะ นั่งยอง ๆ
  • เข่าฝืดตอนตื่นนอน หรือเวลานั่งนาน ๆ แล้วลุกขึ้น
  • ข้อเข่ามีเสียงดังกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหว
  • เข่าบวม ข้อผิดรูป หรือโก่งงอ
  • ข้อเข่ามีการเคลื่อนไหวจำกัด เดินขึ้นลงบันไดลำบาก

สาเหตุของข้อเข่าเสื่อม

  • อายุ – อายุที่มากขึ้นทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ
  • น้ำหนักเกิน – ความอ้วนเพิ่มแรงกดที่ข้อเข่า
  • การใช้งานข้อผิดท่า – เช่น ยืนนาน นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า ยกของหนัก
  • อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ข้อเข่า
  • กรรมพันธุ์ – บางคนอาจมีแนวโน้มเกิดโรคจากพันธุกรรม

วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อม

การรักษาข้อเข่าเสื่อมมีหลายวิธี ตั้งแต่การปรับพฤติกรรม การใช้ยา ไปจนถึงการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค โดยสามารถแบ่งแนวทางได้ดังนี้:

  1. การรักษาแบบไม่ใช้ยา

  • ควบคุมน้ำหนัก: ลดน้ำหนักตัวลงเพื่อลดแรงกดที่ข้อเข่า
  • ออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น เดินในน้ำ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือโยคะ
  • กายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
  • ใส่อุปกรณ์พยุงเข่า เช่น แผ่นรองเข่า หรือสนับเข่า
  • ประคบร้อน-เย็น เพื่อบรรเทาอาการปวด
  1. การรักษาด้วยยา

  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ยาพ่น หรือยาทาเฉพาะจุด
  • – การฉีดยาเข้าข้อ เช่น กรดไฮยาลูโรนิก หรือสเตียรอยด์
  1. การรักษาทางเลือก

  • การรับประทานอาหารเสริม เช่น คอลลาเจนไทป์ 2, กลูโคซามีน, ชอนดรอยติน
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู เช่น การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) หรือการใช้สเต็มเซลล์
  1. การผ่าตัด

ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Replacement)

ป้องกันข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร?

การป้องกันข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการเสื่อมของข้อเข่าได้ ดังนี้:

  • หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธินาน ๆ
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
  • สวมรองเท้าที่มีพื้นรองรับแรงกระแทกดี
  • งดการยกของหนักหรือออกแรงกดข้อเข่ามากเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่หักโหม

ข้อควรรู้สำหรับผู้เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม

  • อย่ารอให้อาการปวดเข่ารุนแรงแล้วค่อยรักษา
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ข้อบวม ข้อฝืด เดินแล้วมีเสียงดัง
  • เริ่มดูแลตั้งแต่วันนี้ด้วยการปรับพฤติกรรมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ

สรุป

การรักษาข้อเข่าเสื่อม ควรเริ่มตั้งแต่การป้องกันและดูแลสุขภาพของข้อเข่าอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง หมั่นออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนัก หากมีอาการแล้วควรรีบพบแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะหากปล่อยไว้ อาการอาจรุนแรงจนต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

ความสำคัญของแคลเซียมเสริมกระดูก ผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มเสื่อมถอย มวลกระดูกก็ยิ่งเสื่อมลงตามวัย เสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกหัก กระดูกพรุน และแคลเซียมบำรุงกระดูกก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง และลดความเสี่ยงของปัญหาอื่นตามมา

ทำไมแคลเซียมบำรุงกระดูกถึงสำคัญ

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน และมีบทบาทสำคัญสำหรับกล้ามเนื้อ หัวใจ และระบบประสาท แต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมขึ้นมาเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม และอาหารเสริมแคลเซียมบำรุงกระดูก ผู้สูงอายุ

ภัยเงียบของผู้สูงวัย

หลังอายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเริ่มเสียมวลกระดูกมากขึ้น ทำให้กระดูกบางลง เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หากปล่อยไว้อาจนำไปสู่ภาวะกระดูกแตกหักได้ แค่สะดุดล้มเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกแตกหรือกระดูกหักได้เลย

ประโยชน์ของแคลเซียมบำรุงกระดูก

  • เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน
  • ป้องกันกระดูกหักในผู้สูงอายุ
  • ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ

แคลเซียมบำรุงกระดูกที่ผู้สูงอายุต้องการต่อวัน

ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมประมาณ 1000 – 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งแคลเซียมจะได้รับจากการรับประทาน นม และผลิตภัณฑ์จากนม ปลาตัวเล็กที่สามารถรับประทานได้ทั้งตัว เต้าหู้ ผักใบเขียว งา ถั่วต่าง ๆ และอาหารเสริมแคลเซียมบำรุงกระดูก ผู้สูงอายุ

วิธีสังเกตอาการขาดแคลเซียม

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • เป็นตะคริวบ่อย
  • กระดูกหักง่าย
  • ฟันโยก และเล็บเปราะ
  • ความดันโลหิตสูง

แคลเซียมบำรุงกระดูก สำหรับผู้สูงอายุแบบไหนดีที่สุด?

  • เป็นชนิดที่ดูดซึมง่าย เช่น Calcium Citrate
  • ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือโซเดียมสูง
  • มีวิตามินดีเสริมในปริมาณพอเหมาะ
  • ผ่านการรับรองจาก อย. และมีข้อมูลโภชนาการชัดเจน
  • เคี้ยวง่าย หรือกลืนง่าย เหมาะกับผู้สูงอายุ

วิตามินที่ควรรับประทานคู่กับแคลเซียมบำรุงกระดูก

  • วิตามินดี เป็นตัวช่วยทำให้แคลเซียมดูซึมในลำไส้ได้ดีขึ้น
  • แมกนีเซียม ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น
  • วิตามินเค 2 ช่วยในการนำแคลเซียมเข้าสู่กระดูกไม่ให้ไปสะสมในหลอดเลือด

สรุป

แคลเซียมบำรุงกระดูกเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะกระดูกเปราะ กระดูกพรุน กระดูกหัก ป้องกันการบาดเจ็บและส่งเสริมสุขภาพในระยะยาว

เลือกซื้อยาในร้านขายยากรุงเทพ อย่างไรให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน

ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ร้านขายยาเป็นมากกว่าที่ซื้อยา แต่ยังเป็นศูนย์กลางของการดูแลสุขภาพที่เข้าถึงง่าย ไม่ว่าจะเป็นการหายารักษาโรค ปรึกษาเภสัชกร หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ร้านขายยากลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเมืองที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และเชื่อถือได้

กรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ร้านขายยา ที่มีอยู่แทบทุกมุมถนน ตั้งแต่ร้านขนาดเล็กของเภสัชกรอิสระไปจนถึงเครือข่ายร้านขายยาชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อยา อาหารเสริม หรือขอคำปรึกษาด้านสุขภาพ ร้านขายยากลายเป็นจุดหมายสำคัญของคนเมืองที่ต้องการดูแลตัวเองให้แข็งแรง

ร้านขายยาในกรุงเทพฯ มีแบบไหนบ้าง?

  1. ร้านขายยาอิสระ

เป็นร้านขายยาขนาดเล็กที่มักดำเนินการโดยเภสัชกรเจ้าของร้านเอง ร้านลักษณะนี้พบได้ทั่วไปในย่านชุมชน ตลาด หรือริมถนน ข้อดีของร้านขายยาอิสระคือความเป็นกันเอง และความสามารถในการให้คำปรึกษาอย่างละเอียดจากเภสัชกรโดยตรง

  1. เครือข่ายร้านขายยาชื่อดัง

ร้านขายยาที่อยู่ภายใต้แบรนด์เครือข่าย เช่น Boots, Watsons, Fascino, Pure, Save Drug และอื่นๆ ร้านเหล่านี้มักตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือริมถนนสายหลัก

  1. ร้านขายยาในโรงพยาบาล

เป็นร้านขายยาที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาล หรือมีความเชื่อมโยงกับสถานพยาบาล จุดเด่นของร้านกลุ่มนี้คือ คุณภาพยาและการควบคุมมาตรฐาน ที่เข้มงวด

ข้อดีของร้านขายยาในกรุงเทพฯ

  • หาซื้อง่าย – ไม่ว่าคุณจะอยู่เขตไหนของกรุงเทพฯ ก็สามารถหาร้านขายยาได้ง่าย ทั้งในตลาด ห้างสรรพสินค้า หรือริมถนน
  • มีเภสัชกรให้คำปรึกษา – ร้านขายยาที่ได้มาตรฐานจะมีเภสัชกรคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
  • มีสินค้าเพื่อสุขภาพหลากหลาย – นอกจากยาแล้ว ยังมีวิตามิน อาหารเสริม อุปกรณ์การแพทย์ และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพให้เลือกมากมาย
  • เปิดบริการดึกหรือ 24 ชั่วโมง – ในกรุงเทพฯ มีร้านขายยาหลายแห่งที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ร้านยาฟาสซิโนบางสาขา และร้านยาใกล้โรงพยาบาลใหญ่

เลือกซื้อยาจากร้านขายยาอย่างไรให้ปลอดภัย?

  • เลือกซื้อจากร้านที่มีใบอนุญาต – ควรเลือกร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำ และมีใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • อย่าซื้อยาปลอม – หากเจอยาที่ราคาถูกผิดปกติ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นยาปลอม หรือยาไม่ได้มาตรฐาน
  • สอบถามก่อนใช้ยา – ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยา โดยเฉพาะยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์
  • ตรวจสอบวันหมดอายุ – ยาบางชนิดหมดอายุแล้วอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

สรุป

ร้านขายยากรุงเทพ เป็นแหล่งสำคัญในการดูแลสุขภาพของคนในเมือง ไม่ว่าคุณจะต้องการซื้อยา อาหารเสริม หรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ก็สามารถเลือกร้านขายยาเหล่านี้ได้  ขอแค่เลือกใช้บริการร้านที่ได้มาตราฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้ยาที่มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณเมื่อรับประทาน

สาเหตุที่ทำให้เราเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 

สาเหตุที่ทำให้เรานั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น มีหลากหลายสาเหตุและปัจจัยแตกต่างกันไปนะครับแต่ในวันนี้นั้น เราจะมาอธิบายให้ฟังถึงสาเหตุของกลไกว่าทำไมถึงได้เกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศขึ้นมา โดยจะมาสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอยู่หลักๆ 3 ขั้นตอนคือ

  1. เกิดจากความล้มเหลวในการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนั้น มันมักจะมาจากทางด้านจิตใจ สมอง ระบบประสาท และการขาดฮอร์โมนเพศชาย จึงทำให้เกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั่นเอง
  1. เกิดจากความล้มเหลวเกี่ยวกับเลือดแดงที่จะไหลเข้ามาคั่งในอวัยวะเพศ มักจะเกิดกับการที่เรานั้น มีความอยากที่จะมีเพศสัมพันธ์ แต่ทว่าเจ้ามังกรของเรากลับไม่ยอมสู้ซะอย่างนั้น เกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศขึ้นมาทันทีทันใด ซึ่งตรงนี้มักจะเกิดจากระบบไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงองคชาติไม่เพียงพอนั่นเองครับ
  1. เกิดจากความล้มเหลวในการกักกันเลือดแดงที่จะไหลเข้ามาคั่งในอวัยวะเพศของเรา แล้วค้างอยู่ได้มากพอและนานพอที่จะทำให้ อวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่และนานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จ มักจะเกิดจากผู้สูงอายุมีพังผืดมาแทนหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศครับ

นี่เป็นเพียงแค่กลไกหรือสาเหตุที่ทำให้เรานั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนะครับ จริงๆแล้วยังมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างประกอบกันที่ทำให้เราเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ก็หวังว่าบทความนี้จะพอให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้างนะครับ